วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผู้จัดทำ


สามเณรปัณณธร กิตติวิริยกุล รหัส 581758085

Section AD วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

ที่มา
http://www.hugchiangkham.com/
http://www.edtguide.com/th/thailand/category/%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3/view/p1












ที่พักในอำเภอเชียงคำ

รงแรม เชียงคำ

โรงแรมเชียงคำ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง การเดินทางสะดวกสบาย บริการห้องพักทั้งห้องพัดลมและห้องแอร์ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน คุณสามารถไปช้อปปิ้งหรือจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างสะดวกสบาย เพราะอยู่ไม่ไกลจากเทสโก้โลตัส หากผ่านมาทางจังหวัดพะเยา แล้วมองหาโรงแรมราคาประหยัด แนะนำให้ลองมาพักที่ โรงแรมเชียงคำ...


บัวขาวรีสอร์ท

Bua Khao
  • ที่อยู่ : 157 ม.หมู่ 9 ถ.แยกทางหลวงหมายเลข 1 (แม่ต๋ำ) - เทิง ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา 56110
  • โทรศัพท์ : 0-5445-1089 , 08-1022-4745


  • เพชร สวนอาหาร

    Phat
    • ที่อยู่ : 96 ม.หมู่ 2 ถ.พะเยา - เทิง ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา 56110
    • โทรศัพท์ : 0-5445-1339
    • ด้านในกว้าง ขวาง และดูบรรยากาศดี ตกแต่งเป็นธรรมชาติ ไม่แออัด และสะดวกสบาย



สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเชียงคำ

วัดพระนั่งดิน


อยู่ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กม. เป็นวัดที่องค์พระประธาน ของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญ พระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่าพระนั่งดิน

อนุสรณ์ผู้เสียสละ พ.ต.ท. 2324



ยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำ ตามทางหลวง 1021 ไปประมาณ 2 กม. เป็นอนุสรณ์สถานที่ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ได้พลีชีพในการสู้รบเพื่อรักษาอธิปไตย นพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยาและเชียงราย นอกจากนั้นยังจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงภาพถ่ายรูปจำลองและอาวุธยุโธปกรณ์ที่เคยใช้ต่อสู้ในการรบครั้งนั้นไว้ด้วย เปิดให้เข้าชมในวันเวลาราชการ

วัดพระธาตุสบแวน


อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่มาก คาดว่าอายุราว 800 ปี ภายในบรรจุเส้นพระเกศา และกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง แต่ยังคงรักษาสภาพศิลปะแบบล้านนาไทยไว้ได้

วัดนันตาราม 


วัดนันตาราม ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฎว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ
สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน พ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชสวไทยใหญ่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังใหม่แทนวิหารที่มุงหญ้าคา โดยว่าจ้างชาวไทยใหญ่มาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิศดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘ ต้นลงรักปิดทอง ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาทเศษ
อัญเชิญพระประธาน พระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ว่าจ้างและ ไหว้วานชาวบ้านประมาณ ๘๐ คน อัญเชิญมาจาก วัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง (ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยบ้านดอนแก้ว ตำบลออย อำเภอปง)เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา ๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์
การจัดงานฉลองวัดครั้งแรก การปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างวัดจองคาครั้งใหญ่ใช้เวลาร่วม ๑๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๗ พ่อเฒ่า นันตา (อู๋) ได้เป็นประธานจัดงานฉลองครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๗ ๑๕ วัน ๑๕ คืน นอกจากการทำบุญ และจัดมหรสพสมโภชแล้ว ยังมีการตั้งโรงทาน แจกจ่ายวัตถุทานแก่ยาจกวณิพกและคนยากจนทั่วไปจำนวนมากอีกด้วย นับเป็นมหากุศลที่ ยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของวัดจองคำ ได้ชื่อ “ วัดนันตาราม”

ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ


ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนามณฑลยูนาน ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตรกม.  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขามีที่ราบแคบๆอยู่ตามหุบเขา และลุ่มแม่น้ำอันเป็น บริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการทำนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกว่า "แม่น้ำของ" ในปี พ.ศ. 2399 เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้า เหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น

การปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเชียงคำแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 134 หมู่บ้าน
ที่ตำบลจำนวนหมู่บ้าน
1.ตำบลหย่วน15 หมู่บ้าน
2.ตำบลน้ำแวน14 หมู่บ้าน
3.ตำบลเวียง10 หมู่บ้าน
4.ตำบลฝายกวาง17 หมู่บ้าน
5.ตำบลเจดีย์คำ12 หมู่บ้าน
6.ตำบลร่มเย็น21 หมู่บ้าน
7.ตำบลเชียงบาน11 หมู่บ้าน
8.ตำบลแม่ลาว14 หมู่บ้าน
9.ตำบลอ่างทอง13 หมู่บ้าน
10.ตำบลทุ่งผาสุข7 หมู่บ้าน
* หมายเหตุ ปัจจุบันตำบลร่มเย็น พ.ศ. 2557 มี 22 หมู่บ้านคือ บ้านห้วยเดื่อดอยนาง คลิ๊กอ่านข้อมูลเพิ่มเติม และก็มีอีกหลายหมู่บ้านยังไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น บ้านห้วยเคียน บ้านห้วยปุ้ม บ้านใหม่เจริญสุข บ้านร้องขี้เป็ด เป็นต้นนอกจากนั้นยังมีหมู่บ้านในโครงการเนื่องในพระราชดำริสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเชียงคำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
1.เทศบาลตำบลเชียงคำ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหย่วน คลิ๊กดูเว็ปไซต์
2.เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
3.เทศบาลตำบลฝายกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฝายกวางทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
4.เทศบาลตำบลหย่วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหย่วน (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียงคำ) คลิ๊กดูเว็ปไซต์
5.องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำแวนทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
6.องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์คำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์คำทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
7.องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่มเย็นทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
8.องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงบานทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
9.องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาวทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
10.องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างทองทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
11.องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งผาสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งผาสุขทั้งตำบล คลิ๊กดูเว็ปไซต์
ที่มา http://www.hugchiangkham.com/

จำนวนประชากร







เมื่อ ปีพุทธศักราช 2556 ได้ทำการสำรวจประชากรของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีประชากรจำนวน 77,075 คน ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 98.30 คน/ตร.กม. และอำเภอเภอเชียงคำของเราถือได้ว่า เป็นอำเภอที่มีชนชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความรักความสามัคคีหลายชน ชาติพันธุ์ด้วยกัน โดยหลักๆ สามารถจำแนกของได้จำนวน 8 ชนชาติพันธุ์ ดังนี้
1.ชนชาติพันธุ์พื้นเมืองไตยวน ถือเป็นประชากรหลักของเชียงคำที่มีอยู่ประมาณ 55 % เฉลี่ยจากจำนวนประชากรณทั้ง 134 หมู่บ้านทั่วอำเภอเชียงคำ ใช้ภาษาล้านนา เป็นภาษาสื่อสารกัน มีอักษรหรืออักขระล้านนาเป็นตัวหนังสือเขียนเป็นเอกลักษณ์ คลิ๊กอ่านข้อมูลไตยวนเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
2.ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ ใช้ภาษาไทลื้อเป็นภาษาสื่อสารกัน มีอักษรหรืออักขระธรรม ซึ่งก็ใช้อักษรล้านนา ซึ่งบางครั้งแทบจะแยกไม่ออกระหว่างคนพื้นเมืองกับพี่น้องไทลื้อ ซึ่งมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีที่ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน บางครั้งบางประเพณีก็ทำผสมผสานกันได้อย่างลงตัว จำนวนประชากรชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำถือว่า มีจำนวนมากรองเป็นอัน 2 รองลงมาจากพี่น้องชาวพื้นเมือง มีอยู่ประมาณ 30 % ตามอัตราเฉลี่่ยจำนวนหมู่บ้านทั้ง 134 หมู่บ้านทั่วอำเภอเชียงคำ  คลิ๊กอ่านข้อมูลและดูภาพเพิ่มเติมที่นี่ครับ
3.ชนชาติพันธุ์ไทยอีสาน ซึ่ง ได้อพยพมาหาที่ทำกินแห่งใหม่เป็นหมู่บ้านที่ย้ายถิ่นฐานมาจากภาคตะวันออก เฉียงเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ทั้งชาวไทยอีสานและชาวผู้ไท ซึ่งมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม และมุกดาหาร มหาสารคาม ชัยภูมิ เป็นต้น ซึ่งก็มีหลายหมู่บ้าน หลายชุมชนในตำบลต่างๆ ทั้งทางตำบลอ่างทองและตำบลร่มเย็น เป็นต้น ของอำเภอเชียงคำนี้ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 5 % จากจำนวนประชากรทั้งหมด 134 หมู่บ้านของอำเภอ คลิ๊กอ่านข้อมูลและชมภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
4.ชนชาติพันธุ์พี่น้องลาว ซึ่ง เป็นพี่น้องชาวลาวที่ได้อพยพข้ามมาในสมัยก่อน พ.ศ. 2500 มาจากหลายหมู่บ้าน เช่น แถวแขวงไชยะบุรี เมืองคอบ บ้านน้ำต้ม จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่ออพยพมาหาที่ทำกินแห่งใหม่เป็นหมู่ซึ่งก็มีหลายหมู่บ้าน โดยได้ตั้งหมู่บ้านอยู่แถวตำบลทุ่งผาสุขและตำบลฝายกวาง เป็นต้น มีจำนวนประชากรประมาณ 3 % โดยเฉลี่ยจากประชากรทั้งหมด 134 หมู่บ้านทั่วทอำเภอเชียงคำ
5.ชนชาติพันธุ์เมี่ยนหรือเย้าได้แก่ พี่น้องที่ได้อพยพกันมาตั้งถิ่นฐานในแถบชายแดนประเทศไทยและในสมัยก่อการร้าย ลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้พากันอพยพกันมาตั้งหมู่บ้านอยู่ร่วมกับคนพื้นราบบ้างอยู่ตามเขาบ้าง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตำบลร่มเย็น มีประมาณ 2 % โดยเฉลี่ยจากจำนวนประชากรทั้งหมด 134 หมู่บ้านทั่วอำเภอเชียงคำ ติดตามอ่านข้อมูลและรับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
6.ชนชาติพันธุ์ม้งหรือแม้ว ได้แก่ พี่น้องที่ได้อพยพกันมาตั้งถิ่นฐานในแถบชายแดนประเทศไทยและในสมัยก่อการร้าย ลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้พากันอพยพกันมาตั้งหมู่บ้านอยู่ร่วมกับคนพื้นราบบ้างอยู่ตามเขาบ้าง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตำบลร่มเย็น มีประมาณ 2 % โดยเฉลี่ยจากจำนวนประชากรทั้งหมด 134 หมู่บ้านทั่วอำเภอเชียงคำ ติดตามอ่านข้อมูลและรับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
7.ชนชาติพันธุ์พี่น้องชาวจีน เป็นพี่น้องชาวจีนอพยพมาทำการประกอบอาชีพค้าขาย ส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นทีชุมชนต่างๆ มีประมาณ 1 % จากจำนวนประชากรทั้งหมดโดยเฉลี่ยจากหมู่บ้าน 134 หมู่ทั่วอำเภอเชียงคำ
8.ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ เป็น พี่น้องที่ได้อยู่ตกค้างในสมัยก่อนและมีที่ตามพ่อค้า มาทำการค้าขายและได้ทำสัมปทานในเรื่องไม้ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ อำเภอปง ก่อนปี พ.ศ. 2450 และมีหลักฐานปรากฎชัดว่ามีพี่น้องชาวไทใหญ่มาอาศัยอยู่ในเชียงคำ เช่น การบูรณปฏิสังขรณ์วัดม่านหรือวัดจองคา ให้ยิ่งใหญ่สวยงาม โดยพ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ จนวัดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นวัดที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลป วัฒนธรรมที่สำคัญของเชียงคำ นั่นก็คือ วัดนันตาราม โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 % จากจำนวนประชากรทั้งหมด 134 หมู่บ้านและวัฒนธรรมประเพณีก็เริ่มกลืนกลายเป็นชนชาติพื้นเมืองและชาวไทลื้อ ไปบ้างก็มีแล้ว คลิ๊กอ่านข้อมูลและรับชมภาพวัดนันตารามได้ที่นี่ครับ
*หมายเหตุ * หมายเหตุ ปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ได้มีโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ เกิดขึ้นมาจากพระราชดำริ ได้มีการอพยพชาวเขาเผ่าต่างๆ จากจังหวัดเชียงใหม่ มาอีก 4 เผ่า เพื่อมาดูแลป่าต้นน้ำญวน ที่บ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา อันได้แก่ เผ่าเมี่ยนหรือเย้า เผ่าอาข่า เผ่ามูเซอ และชนเผ่าประกากะญอ หรือ กะเหรี่ยง เฉลี่ยแล้ว 1 % จากจำนวนประชากรทั้งหมด 134 หมู่บ้าน คลิ๊กอ่านข้อมูลเพิ่มเติม

แผนที่อำเภอเชียงคำ

แผนที่อำเภอเชียงคำ


ประวัติอำเภอ เชียงคำ


ประวัติความเป็นมา



อำเภอเชียงคำ เป็น อำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำลาว แม่น้ำยวน และแม่น้ำแวน  ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มแม่น้ำอิง ในอดีตเป็นแอ่งอารยธรรมของชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ความเป็นมาของอำเภอเชียงคำ ปรากฏในรูปแบบตำนาน 2 ตำนานในสมัยพุทธกาลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตามตำนานพระธาตุดอยคำ ฉบับวัดหนองร่มเย็น เมืองเชียงคำมีชื่อเดิมว่า เวียงชะราว ตั้ง อยู่ในพื้นที่บ้านคุ้มหมู่ 6 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ พระยาผู้ปกครองเมืองได้สร้างพระธาตุไว้บนดอยนอกเมืองเพื่อล้างบาป ต่อมามีผู้พบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ในลำธารหลังดอย ดอยนั้นได้ชื่อว่า “ดอยคำ” พระธาตุบนดอยก็ชื่อว่า พระธาตุดอยคำ” เมืองชะราวก็เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองเชียงคำ”
แต่ ทางตำนานพระเจ้านั่งดิน พญาผู้สร้างเมืองชื่อว่า “พญาคำแดง” และเมืองนั้นชื่อ “พุทธรส” ประชาชนชาวเมือง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระพุทธรูปมีนามว่า “พระเจ้านั่งดิน” พระพุทธเจ้าทำนายว่า สืบไปภายหน้าเมืองจะเจริญรุ่งเรือง และอุดมไปด้วยสินทรัพย์และจะได้ชื่อว่า “เมืองเชียงคำ”
เมือง เชียงคำ ถือได้ว่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์สำคัญเมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาตะวันออก มีชื่อปรากฏในหัวเมืองใหญ่ๆ 57 หัวเมืองของล้านนาในยุคอาณาจักรล้านนา แต่ชื่อของเชียงคำไม่ปรากฏเด่นชัดในหน้าประวัติศาสตรสักเท่าใดนัก อาจจะเป็นพระเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับหัวเมืองใหญ่ๆในสมัยนั้น แต่เรื่องราวของเมืองเชียงคำก็ได้ปรากฎในประวัติศาสตร์หลายตอน เช่น พญาคำแดงยกทัพม้าจำนวน 500 ตัวมาปราบพวกกบฏแกวญวน,ประวัติศาสตร์สมัย พระยาคำฟู พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์มังรายองค์ที่ 4 เคยเสด็จมาเยี่ยมพระสหายชื่อวัวหงส์ ที่เมืองเชียงคำ และได้สวรรคตที่แม่น้ำคำ ณ เมืองเชียงคำแห่งนี้ และอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำคือ ในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งล้านช้างที่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ได้เสด็จมาครองราชที่ อาณาจักรล้านนาในราชวงศ์มังราย องค์ที่ 15  และก็ได้เสด็จกลับไปยังล้านช้าง ณ ครานั้น ได้นำพระแก้วมรกต เสด็จกลับหลวงพระบางและได้เคยนำพระแก้วมรกตมาแวะพักที่วัดพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำของเราด้วย
เดิมที เป็นเมืองหน้าด่านขนาดเล็ก มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 เวียง มีเมืองเก่าอยู่ที่เมืองพุทธรส หรือ บ้านคุ้ม ตำบลร่มเย็นในปัจจุบัน แต่สภาพบ้านเมืองคับแคบ จึงได้ย้ายเมืองมาสร้างยังเมืองใหม่ บริเวณบ้านเวียง ตำบลเวียงในปัจจุบัน ประชากรกลุ่มหลักเป็นชาวไตยวน หรือ คนเมืองล้านนาเิม มีวัดที่สำคัญคือ วัดพระธาตุดอยคำ วัดพระนั่งดิน และวัดเวียงพระแก้ว หลักฐานทางโบราณคดี เมืองเชียงคำมีถูกสร้างขึ้นใน สมัยพุทธศตวรรษที่ 17 (ราวปี พ.ศ. 1600-1700) ในช่วงต้นถูกปกครองขึ้นตรงต่ออาณาจักรภุกาม และต่อมาก็ขึ้นตรงต่อเมืองน่าน ในสมัยต่อมาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองทางอาณาจักรล้านนา ได้ขึ้นไปปราบการจลาจลแถบแคว้นสิบสองปันนา ทำให้เจ้าเมืองเหล่านั้น ได้พากันกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนาอยู่ในล้านนาจำนวนมาก อันเป็นยุคของ “การเก็บผักใส่ช้า เก็บข้าใส่เมือง” ทำให้เมืองเชียงคำของเรา มีประชากรชนชาติพันธุ์ไทลื้อมีมากรองลงมาจาก คนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวไตยวน นอกจากนั้นแล้ว เชียงคำของเรายังมีชนชาติพนธุ์หลายหลายรวมๆแล้ว มีอยู่ด้วยกัน 8 ชนชาติพันธุ์ด้วยกัน
อำเภอ เชียงคำ ได้ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาอย่างมากมาย และเรื่องราวหลายเรื่องราวได้สูญหายไปในสมัยที่ล้านนา ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทำให้หลักฐานบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หลายอย่างถูกทำลายไป หลังจากบ้านเมืองสงบ ก็เริ่มมีการพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่จวบจนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยจัดระบบการปกครองแผ่นดินส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครั้งนั้น อำเภอเชียงคำอยู่ในแขวงน้ำลาว (รวมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายอยู่ด้วย) พื้นที่ในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน โดยมี เจ้าสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำแขวง ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ ณ วัดพระแก้ว บ้านเวียง ม.6 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ ต่อมาทางราชการ ได้ยุบและปรับปรุงแขวงน้ำลาว โดยจัดเป็นบริเวณน่านเหนือ มีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอเทิง และบางส่วนของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย
ใน สมัยที่ประเทศชาติมหาอำนาจทางตะวันตก หรือในยุคที่ล่าอาณานิคม เข้ามาล่าเมืองขึ้นในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ในหลายๆประเทศ ได้ตกเป็นเมืองงขึ้น เช่น อังกฤษได้ยึดพม่าและแหลมมาลายูทางใต้ไว้เป็นเมืองขึ้น ชาวฝั่งเศสยึดญวน เขมรและประเทศลาวไว้ได้ ดังนั้น ทางสยามประเทศ จึงจำเป็นต้องปฏิรูปการปกครองประเทศเพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศ โดยที่มีลำดับเหตุการณ์เรียงตามปี พุทธศักราช ได้ดังนี้
พ.ศ. 2416 ได้เกิดคดีพิพาทในเรื่องการสัมปทานป่าไม้ ระหว่างคนในบังคับของอังกฤษกับเจ้านายในอาณาจักรล้านนา ซึ่งถือเป็นประเทศราชของสยาม รัฐบาลกลางของสยาม จึงได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการการปกครองล้านนาอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อป้องกันไม่ให้อังกฤษเข้ามาแทรกแซงอธิปไตยในล้านนาสืบไป
พ.ศ. 2416 ได้ มีการเริ่มส่งข้าหลวงเข้ามาปกครองสามหัวเมืองหลัก  คือมาควบคุมดูแลเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ต่อมาขยายออกไปยังเมืองน่านและแพร่ เป็นข้าหลวงห้าหัวเมือง และได้พัฒนาตั้งให้เป็นหัวเมืองลาวเฉียง มณฑลลาวเเฉียง มณฑลตะวันนตกเฉียงเหนือ และมณฑลพายัพ
เมื่อปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ.116) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 กำหนดให้มีหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในหัวเมืองทั่วทุกมณฑล เทศาภิบาล
มื่อปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทย จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินในภูมิภาคเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ครั้งนั้น อำเภอ เชียงคำแขวงน้ำลาว (รวมพื้นที่อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย ใน ปัจจุบันด้วย) ขึ้นในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน โดยมีเจ้าสุริวงศ์ ดำรง ตำแหน่งข้าหลวง ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ ณ บ้านเวียงพระแก้ว ปัจจุบันเป็นบ้านเวียง ม.6 ต.เวียง อ.เชียงคำ
เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118) กระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตการปกครองเมืองน่านเป็น 8 แขวง คือ
1.แขวงนครน่าน
2.แขวงน้ำแหง
3.แขวงน่านใต้
4.แขวงน้ำปัว
5.แขวงขุนน่าน
6.แขวงน้ำของ มีเมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน และเมืองเงิน รวมอยู่ด้วย
7.แขวง น้ำอิง มีเมืองเชียงคำ เมืองเชียงแรง เมืองเทิง เมืองหงาว เมืองเชียงเคี่ยน เมืองลอ เมืองมิน รวมอยู่ด้วย มีที่ว่าการตั้งอยู่ที่เมืองเทิง
8.แขวงขุนยวม มีเมืองเชียงม่วน เมืองสะเอียบ เมืองสระ เมืองสวด เมืองปง เมืองงิม เมืองออ และเมืองควน รวมอยู่ด้วย
พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ออกข้อบังคับ สำหรับการปกครองมณฑลพายัพ ร.ศ. 119 (พ.ศ.2443) กำหนดให้ใช้ พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ในมณฑลพายัพทุกมาตรา เพียงแต่ให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งต่างๆ เป็น เจ้าสนามหลวง อำเภอเรียกเป็น แขวง, นายอำเภอ เรียกว่า นายแขวง, ตำบลเรียกว่า แคว้น, กำนันเรียกว่า นายแคว้น และผู้ใหญ่บ้านเรียกว่า แก่บ้าน
เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) เกิด กบฎเงี้ยวเข้าปล้นราษฎรและทำลายทรัพย์สินทางราชการ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) แม่ทัพใหญ่ได้ส่งพระยาดัสกรปลาสเป็นแม่ทัพขึ้นมาปราบกบฎเงี้ยวถึงเมืองเชียง คำ เมื่อปราบกบฎเงี้ยวได้แล้ว พระยาดัสกรปลาส ได้เห็นที่ตั้งแขวงเมืองเชียงคำนั้นคับแคบเกินไป ไม่มีพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนได้ในอนาคต จึงได้ย้ายที่ว่าการแขวง มา ตั้ง ณ บ้านหย่วน ต.หย่วน อ.เชียงคำ อ.ปง จ.พะเยา อ.เทิง อ.เชียงของ จ.เชียงราย และเมืองคอบ (ปัจจุบันอยู่ในเขต สปป.ลาว) เข้าด้วยกัน พร้อมแต่งขุนพรานไพรีรณ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงบริเวณน่านเหนือ
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) เจ้า พระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้สั่งให้กองทหารไปปราบพวกเงี้ยวที่เชียงคำ และให้กองทหารจากลำปาง ตีโอบจากพะเยาลงมา ส่วนเจ้าพระยาอนุชิตชาญชัยได้สั่งให้ ร.อ. ฮันส์ มาร์กวอร์ด เจนเซน คุมกำลังตำรวจนครสวรรค์ไปปราบเงี้ยวที่พะเยา
เมื่อปี พ.ศ.2446 (ร.ศ. 122) ได้มีการตั้งเขตปกครองพิเศษ ที่มีระดับอยู่ระหว่าง มณฑลกับจังหวัด เรียกว่า “บริเวณ” เชียงคำ อยู่ในบริเวณน่านเหนือ ประกอบด้วย เมืองเชียงของ, เมืองเทิง, เมืองเชียงคำ, เมืองเชียงแรง, เมืองเงิน, เมืองคอบ, เมืองเชียงลม และเมืองเชียงฮ่อน เนื่องจากนครน่านมีพื้นที่กว้างขวาง จึงได้รวมหัวเมืองสำคัญแบ่งออกเป็นบริเวณ คือ
1.บริเวณน่านเหนือ ประกอบด้วยแขวงน้ำอิง แขวงน้ำของ และแขวงขุนยวม
2.บริเวณน่านตะวันออก
3.บริเวณน่านใต้
เมื่อปี พ.ศ. 2447 (ร.ศ.123) กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวง ตำแหน่งเจ้าเมือง ได้ยุบ บริเวณน่านเหนือ แบ่งพื้นที่ออกเป็นอำเภอ เชียงคำ อ.เทิง และ อ.เชียงของ ขึ้นอยู่เขตการปกครองจ.เชียงราย ซึ่งเป็น ชื่อมาจากบริเวณเชียงใหม่เหนือ ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเหมือนกันทั่วประเทศ จัดตั้งจังหวัดเชียงราย แขวงน้ำลาวถูกยุบและแยกเป็นเมืองเทิง และเมืองเชียงคำ เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ตั้งเป็น “แขวงเชียงคำ” มีที่ว่าการอยู่ที่เมืองเชียงคำ ดูแลกิ่งแขวง เมืองปง และเมืองเทิง ตัดเมืองเชียงของให้ไปขึ้นต่อบริเวณพายัพเหนือ ตั้งพระยาพิศาลคีรี ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอเชียงคำเป็นคนแรก
พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) สยาม ได้เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส บริเวณน่านเหนือ จึงถูกตัดแขวงน้ำของออกไป เหลือแต่แขวงน้ำอิง และแขวงขุนยวม ต่อมาได้รวบรวมเมืองต่างๆ เสียใหม่ทั้งสิ้นมีทั้งหมด 18 เมือง คือ
1.เมืองเชียงคำ7.เมืองยอด13.เมืองเม่จุน
2.เมืองเชียงแรง8.เมืองสะเกิน14.เมืองสะ
3.เมืองเทิง9.เมืองออย15.เมืองท่าฟ้า
4.เมืองเชียงของ10.เมืองงิม16.เมืองเชียงม่วน
5.เมืองลอ11.เมืองควร17.เมืองสะเอียบ
6.เมืองมิน12.เมืองปง18.เมืองสวด

พ.ศ. 2448 ด้วยหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำของมีบริเวณพื้นที่กว้างใหญ่ มีชายแดนเขตติดต่อกับอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่แยกกันขึ้นอยู่กับนครต่างๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลกันมาก จึงจัดการให้มีการปกครองหัวเมืองในมณฑลพายัพในลุ่มแม่น้ำของเสียใหม่ โดยรวมหัวเมืองต่อไปนี้ ตั้งเป็นบริเวณพายัพเหนือ ได้แก่
1.บริเวณ เชียงใหม่เหนือมี 5 เมือง คือเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองฝาง เมืองฝาง เมืองเวียงป่าเป้า และเมืองหนองขวาง เป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่
2.บริเวณ น่านเหนือ ให้ตัดเมืองท่าฟ้า เมืองเชียงม่วน เมืองสะเอียบ เมืองสวด รวม 4 เมืองไปขึ้นกับแขวงนครน่าน คงเหลือเมืองในบริเวณน่านเหนือ 14 เมือง เป็นเมืองขึ้นของเมืองน่าน
3.บริเวณพะเยา ให้ตัดเมืองงาว ไปขึ้นตรงต่อนครลำปาง คงเหลือ 3 เมืองคือ เมืองพะเยา แขวงแม่ใจ และแขวงดอกคำใต้ เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง
4.เมืองพาน คงเป็นเมืองขึ้นของนครลำพูน
และ ทำการแต่งตั้งให้มีข้าหลวง ประจำบริเวณอยู่ที่เมืองเชียงราย มีอำนาจจัดและตรวจตราหัวเมืองดังกล่าว ให้ขึ้นตรงกับข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ แต่ยังคงสภาพเหมืองเหล่านี้ ให้เป็นเมืองขึ้นของนครต่างๆ ตามเดิมเพื่อไม่ให้เกิดกการต่อต้านจากเจ้านายฝ่ายเหนือผู้ปกครอง
พ.ศ. 2449 เนื่องจากบริเวณน่านเหนือ ได้ถูกตัดไปรวมอยู่กับ บริเวณพายัพเหนือแล้ว กระทรวงมหาดไทย จึงได้ยกเลิกบริเวณน่านเหนือและตั้งเป็นเมืองเชียงคำ มีที่ว่าการอยู่ที่เมืองเชียงคำ ดูแลกิจการกิ่งแขวงเมืองปง และกิ่งแขวงเมืองเทิง ตัดเมืองเชียงของออกไป ให้ขึ้นตรงต่อบริเวณพายัพเหนือ
โดยมีราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 ตุลาคม ร.ศ. 125  (พ.ศ. 2449) เล่ม 23 หน้า 751
ด้วย พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ มีใบบอกมายังกระทรางมหาดไทยให้นำความกราบบังคมทูลฯ พระกรุณาว่า “บริเวณน่านเหนือซึ่งได้ตัดไปรวมขึ้นอยู่ในบริเวณพายัพเหนือแล้วนั้น ควรจะเปลี่ยนวิธีการปกครองเสียใหม่ให้เหมาะกับพื้นที่และผู้คนพลเมืองต่อไป”
กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งดังนี้ คือ
1.ยก เลิก กรมการบริเวณน่านเหนือเสียทั้งชุด และจัดตั้งกรมการแขวงขึ้นสำรับหนึ่งให้บังคับบัญชาการแขวงเชียงคำ ตั้งที่ว่าการแขวงอยู่ที่เมืองเชียงคำ เปลี่ยนนามบริเวณเป็นแขวงเชียงคำ
2.ตั้งกิ่งแขวงขึ้นที่เมืองปงแห่งหนึ่ง เมืองเทิงแห่งหนึ่ง ให้ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของแขวงเชียงคำ
3.ตัดเมืองเชียงของออกจากแขวงเชียงคำให้ไปขึ้นตรงต่อบริเวณพายัพเหนือ เพื่อให้สะดวกแก่การบังคับบัญชาต่อไป
ศาลาว่าการมหาดไทย แจ้งความมา ณ. วันที่ 10 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก 125
( ลงพระนาม )
ดำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ ตำแหน่งการปกครองท้องถิ่นที่จากภาษาพื้นเมืองไปเป็นภาษาไทยเหมือนกันทั่วประเทศ คือ ให้คำว่า แก่บ้าน เปลี่ยนไปใช้คำว่า ผู้ใหญ่บ้านแคว้นกลับไปเป็นตำบลนายแคว้นกลับไปใช้คำว่ากำนัน, แขวงกลับไปใช้เป็นอำเภอนายแขวงก็ใช้คำว่านายอำเภอ และบริเวณให้ใช้คำว่า จังหวัด
ดังนั้น แขวงเชียงคำ จึงเปลี่ยนเป็น อำเภอเชียงคำ แต่ทางราชการก็ยังเรียกว่า เมืองเชียงคำ อยู่ในสังกัดของจังหวัดพายัพเหนือ
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 มิถุนายน 129 (พ.ศ. 2453)  เล่มที่ 27 หน้า 427
      แต่เดิมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองเวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สาย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ได้จัดรวมเข้าเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาเมืองเหล่านี้มีความเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้เห็นว่า การที่จัดให้เป็นแต่เพียงจังหวัดไม่พอแก่ราชการ และความเจริญ สมควรจะเลื่อนชั้นการปกครองขึ้นให้สมกับราชการแลความเจริญในท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ แลจัดแบ่งการปกครองเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย อำเภอเมืองเชียงคำ อำเภอเมืองเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองจัตวาชั้นในที่ขึ้นกรุงเทพมหานครทั้งปวง แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระภักดีณรงค์ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพเหนือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองเชียงราย รับราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป ฯ
ศาลาว่าการมหาดไทย
ประกาศมา ณ. วันที่ 9 มิถุนายน รัตนโกสินทร์ ศก 129
( ลงพระนาม )
ดำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2453 กระทรวง มหาดไทย มีประกาศยกจังหวัดพายัพเหนือ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า เมืองเชียงราย ประกอบด้วย 10 อำเภอ และอำเภอเชียงคำ อยู่ในเมืองเชียงราย
เมื่อปี พ.ศ. 2485 (ร.ศ.161) หลวงฤทธิ์ภิญโญ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคำ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคำจากฝั่งตะวันออกมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำลาว
อนปี พ.ศ.2514  บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเชียงคำฝั่งตะวันออก เป็นจวนนายอำเภอหรือบ้านพัก นายอำเภอ อาคารทีสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันได้รื้อถอนและสร้างอาคารหลังใหม่ทางฝั่งแม่น้ำลาวติดต้นขะจาวแนว ขว้างถนนอย่างที่เราเห็นอยู่ปัจจุบันนี้
เมื่อปี พ.ศ.2514 พันตรีชอบ มงคลรัตน์ นายอำเภอเชียงคำ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคำกลับมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำลาวอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น แบ่งเขตการปกครองจากจังหวัดเชียงราย โดยได้โอนอำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ รวม 7 อำเภอ จัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งพื้นที่อำเภอเชียงคำเป็น กิ่งอำเภอภูซาง ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลสบบง ตำบลภูซาง ตำบลเชียงแรง ตำบลทุ่งกล้วยและตำบลป่าสัก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2539
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะ กิ่งอำเภอภูซาง ขึ้นเป็น อำเภอภูซาง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2550