ประวัติความเป็นมา
อำเภอเชียงคำ เป็น อำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำลาว แม่น้ำยวน และแม่น้ำแวน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มแม่น้ำอิง ในอดีตเป็นแอ่งอารยธรรมของชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ความเป็นมาของอำเภอเชียงคำ ปรากฏในรูปแบบตำนาน 2 ตำนานในสมัยพุทธกาลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตามตำนานพระธาตุดอยคำ ฉบับวัดหนองร่มเย็น เมืองเชียงคำมีชื่อเดิมว่า เวียงชะราว ตั้ง อยู่ในพื้นที่บ้านคุ้มหมู่ 6 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ พระยาผู้ปกครองเมืองได้สร้างพระธาตุไว้บนดอยนอกเมืองเพื่อล้างบาป ต่อมามีผู้พบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ในลำธารหลังดอย ดอยนั้นได้ชื่อว่า “ดอยคำ” พระธาตุบนดอยก็ชื่อว่า “พระธาตุดอยคำ” เมืองชะราวก็เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองเชียงคำ”
แต่ ทางตำนานพระเจ้านั่งดิน พญาผู้สร้างเมืองชื่อว่า “พญาคำแดง” และเมืองนั้นชื่อ “พุทธรส” ประชาชนชาวเมือง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระพุทธรูปมีนามว่า “พระเจ้านั่งดิน” พระพุทธเจ้าทำนายว่า สืบไปภายหน้าเมืองจะเจริญรุ่งเรือง และอุดมไปด้วยสินทรัพย์และจะได้ชื่อว่า “เมืองเชียงคำ”
เมือง เชียงคำ ถือได้ว่าเป็นเมืองประวัติศาสตร์สำคัญเมืองหนึ่งในดินแดนล้านนาตะวันออก มีชื่อปรากฏในหัวเมืองใหญ่ๆ 57 หัวเมืองของล้านนาในยุคอาณาจักรล้านนา แต่ชื่อของเชียงคำไม่ปรากฏเด่นชัดในหน้าประวัติศาสตรสักเท่าใดนัก อาจจะเป็นพระเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองที่ขึ้นอยู่กับหัวเมืองใหญ่ๆในสมัยนั้น แต่เรื่องราวของเมืองเชียงคำก็ได้ปรากฎในประวัติศาสตร์หลายตอน เช่น พญาคำแดงยกทัพม้าจำนวน 500 ตัวมาปราบพวกกบฏแกวญวน,ประวัติศาสตร์สมัย พระยาคำฟู พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งราชวงศ์มังรายองค์ที่ 4 เคยเสด็จมาเยี่ยมพระสหายชื่อวัวหงส์ ที่เมืองเชียงคำ และได้สวรรคตที่แม่น้ำคำ ณ เมืองเชียงคำแห่งนี้ และอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำคือ ในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์แห่งล้านช้างที่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ได้เสด็จมาครองราชที่ อาณาจักรล้านนาในราชวงศ์มังราย องค์ที่ 15 และก็ได้เสด็จกลับไปยังล้านช้าง ณ ครานั้น ได้นำพระแก้วมรกต เสด็จกลับหลวงพระบางและได้เคยนำพระแก้วมรกตมาแวะพักที่วัดพระแก้ว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำของเราด้วย
เดิมที เป็นเมืองหน้าด่านขนาดเล็ก มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 เวียง มีเมืองเก่าอยู่ที่เมืองพุทธรส หรือ บ้านคุ้ม ตำบลร่มเย็นในปัจจุบัน แต่สภาพบ้านเมืองคับแคบ จึงได้ย้ายเมืองมาสร้างยังเมืองใหม่ บริเวณบ้านเวียง ตำบลเวียงในปัจจุบัน ประชากรกลุ่มหลักเป็นชาวไตยวน หรือ คนเมืองล้านนาเิม มีวัดที่สำคัญคือ วัดพระธาตุดอยคำ วัดพระนั่งดิน และวัดเวียงพระแก้ว หลักฐานทางโบราณคดี เมืองเชียงคำมีถูกสร้างขึ้นใน สมัยพุทธศตวรรษที่ 17 (ราวปี พ.ศ. 1600-1700) ในช่วงต้นถูกปกครองขึ้นตรงต่ออาณาจักรภุกาม และต่อมาก็ขึ้นตรงต่อเมืองน่าน ในสมัยต่อมาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองทางอาณาจักรล้านนา ได้ขึ้นไปปราบการจลาจลแถบแคว้นสิบสองปันนา ทำให้เจ้าเมืองเหล่านั้น ได้พากันกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนาอยู่ในล้านนาจำนวนมาก อันเป็นยุคของ “การเก็บผักใส่ช้า เก็บข้าใส่เมือง” ทำให้เมืองเชียงคำของเรา มีประชากรชนชาติพันธุ์ไทลื้อมีมากรองลงมาจาก คนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวไตยวน นอกจากนั้นแล้ว เชียงคำของเรายังมีชนชาติพนธุ์หลายหลายรวมๆแล้ว มีอยู่ด้วยกัน 8 ชนชาติพันธุ์ด้วยกัน
อำเภอ เชียงคำ ได้ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาอย่างมากมาย และเรื่องราวหลายเรื่องราวได้สูญหายไปในสมัยที่ล้านนา ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทำให้หลักฐานบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หลายอย่างถูกทำลายไป หลังจากบ้านเมืองสงบ ก็เริ่มมีการพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่จวบจนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยจัดระบบการปกครองแผ่นดินส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครั้งนั้น อำเภอเชียงคำอยู่ในแขวงน้ำลาว (รวมพื้นที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายอยู่ด้วย) พื้นที่ในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน โดยมี เจ้าสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำแขวง ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ ณ วัดพระแก้ว บ้านเวียง ม.6 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ ต่อมาทางราชการ ได้ยุบและปรับปรุงแขวงน้ำลาว โดยจัดเป็นบริเวณน่านเหนือ มีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา อำเภอเทิง และบางส่วนของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย
ใน สมัยที่ประเทศชาติมหาอำนาจทางตะวันตก หรือในยุคที่ล่าอาณานิคม เข้ามาล่าเมืองขึ้นในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ในหลายๆประเทศ ได้ตกเป็นเมืองงขึ้น เช่น อังกฤษได้ยึดพม่าและแหลมมาลายูทางใต้ไว้เป็นเมืองขึ้น ชาวฝั่งเศสยึดญวน เขมรและประเทศลาวไว้ได้ ดังนั้น ทางสยามประเทศ จึงจำเป็นต้องปฏิรูปการปกครองประเทศเพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศ โดยที่มีลำดับเหตุการณ์เรียงตามปี พุทธศักราช ได้ดังนี้
พ.ศ. 2416 ได้เกิดคดีพิพาทในเรื่องการสัมปทานป่าไม้ ระหว่างคนในบังคับของอังกฤษกับเจ้านายในอาณาจักรล้านนา ซึ่งถือเป็นประเทศราชของสยาม รัฐบาลกลางของสยาม จึงได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการการปกครองล้านนาอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อป้องกันไม่ให้อังกฤษเข้ามาแทรกแซงอธิปไตยในล้านนาสืบไป
พ.ศ. 2416 ได้ มีการเริ่มส่งข้าหลวงเข้ามาปกครองสามหัวเมืองหลัก คือมาควบคุมดูแลเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ต่อมาขยายออกไปยังเมืองน่านและแพร่ เป็นข้าหลวงห้าหัวเมือง และได้พัฒนาตั้งให้เป็นหัวเมืองลาวเฉียง มณฑลลาวเเฉียง มณฑลตะวันนตกเฉียงเหนือ และมณฑลพายัพ
เมื่อปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ.116) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการประกาศใช้ พรบ.ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 กำหนดให้มีหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในหัวเมืองทั่วทุกมณฑล เทศาภิบาล
มื่อปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทย จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินในภูมิภาคเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ครั้งนั้น อำเภอ เชียงคำแขวงน้ำลาว (รวมพื้นที่อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย ใน ปัจจุบันด้วย) ขึ้นในเขตการปกครองของจังหวัดน่าน โดยมีเจ้าสุริวงศ์ ดำรง ตำแหน่งข้าหลวง ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ ณ บ้านเวียงพระแก้ว ปัจจุบันเป็นบ้านเวียง ม.6 ต.เวียง อ.เชียงคำ
เมื่อปี พ.ศ. 2442 (ร.ศ. 118) กระทรวงมหาดไทย ได้แบ่งเขตการปกครองเมืองน่านเป็น 8 แขวง คือ
พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ออกข้อบังคับ สำหรับการปกครองมณฑลพายัพ ร.ศ. 119 (พ.ศ.2443) กำหนดให้ใช้ พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ในมณฑลพายัพทุกมาตรา เพียงแต่ให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งต่างๆ เป็น เจ้าสนามหลวง อำเภอเรียกเป็น แขวง, นายอำเภอ เรียกว่า นายแขวง, ตำบลเรียกว่า แคว้น, กำนันเรียกว่า นายแคว้น และผู้ใหญ่บ้านเรียกว่า แก่บ้าน
เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) เกิด กบฎเงี้ยวเข้าปล้นราษฎรและทำลายทรัพย์สินทางราชการ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) แม่ทัพใหญ่ได้ส่งพระยาดัสกรปลาสเป็นแม่ทัพขึ้นมาปราบกบฎเงี้ยวถึงเมืองเชียง คำ เมื่อปราบกบฎเงี้ยวได้แล้ว พระยาดัสกรปลาส ได้เห็นที่ตั้งแขวงเมืองเชียงคำนั้นคับแคบเกินไป ไม่มีพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนได้ในอนาคต จึงได้ย้ายที่ว่าการแขวง มา ตั้ง ณ บ้านหย่วน ต.หย่วน อ.เชียงคำ อ.ปง จ.พะเยา อ.เทิง อ.เชียงของ จ.เชียงราย และเมืองคอบ (ปัจจุบันอยู่ในเขต สปป.ลาว) เข้าด้วยกัน พร้อมแต่งขุนพรานไพรีรณ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงบริเวณน่านเหนือ
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) เจ้า พระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้สั่งให้กองทหารไปปราบพวกเงี้ยวที่เชียงคำ และให้กองทหารจากลำปาง ตีโอบจากพะเยาลงมา ส่วนเจ้าพระยาอนุชิตชาญชัยได้สั่งให้ ร.อ. ฮันส์ มาร์กวอร์ด เจนเซน คุมกำลังตำรวจนครสวรรค์ไปปราบเงี้ยวที่พะเยา
เมื่อปี พ.ศ.2446 (ร.ศ. 122) ได้มีการตั้งเขตปกครองพิเศษ ที่มีระดับอยู่ระหว่าง มณฑลกับจังหวัด เรียกว่า “บริเวณ” เชียงคำ อยู่ในบริเวณน่านเหนือ ประกอบด้วย เมืองเชียงของ, เมืองเทิง, เมืองเชียงคำ, เมืองเชียงแรง, เมืองเงิน, เมืองคอบ, เมืองเชียงลม และเมืองเชียงฮ่อน เนื่องจากนครน่านมีพื้นที่กว้างขวาง จึงได้รวมหัวเมืองสำคัญแบ่งออกเป็นบริเวณ คือ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น