บริเวณน่านใต้
เมื่อปี พ.ศ. 2447 (ร.ศ.123) กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวง ตำแหน่งเจ้าเมือง ได้ยุบ บริเวณน่านเหนือ แบ่งพื้นที่ออกเป็นอำเภอ เชียงคำ อ.เทิง และ อ.เชียงของ ขึ้นอยู่เขตการปกครองจ.เชียงราย ซึ่งเป็น ชื่อมาจากบริเวณเชียงใหม่เหนือ ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเหมือนกันทั่วประเทศ จัดตั้งจังหวัดเชียงราย แขวงน้ำลาวถูกยุบและแยกเป็นเมืองเทิง และเมืองเชียงคำ เมืองเชียงคำมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ตั้งเป็น “แขวงเชียงคำ” มีที่ว่าการอยู่ที่เมืองเชียงคำ ดูแลกิ่งแขวง เมืองปง และเมืองเทิง ตัดเมืองเชียงของให้ไปขึ้นต่อบริเวณพายัพเหนือ ตั้งพระยาพิศาลคีรี ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอเชียงคำเป็นคนแรก
พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) สยาม ได้เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส บริเวณน่านเหนือ จึงถูกตัดแขวงน้ำของออกไป เหลือแต่แขวงน้ำอิง และแขวงขุนยวม ต่อมาได้รวบรวมเมืองต่างๆ เสียใหม่ทั้งสิ้นมีทั้งหมด 18 เมือง คือ
1. | เมืองเชียงคำ | 7. | เมืองยอด | 13. | เมืองเม่จุน |
2. | เมืองเชียงแรง | 8. | เมืองสะเกิน | 14. | เมืองสะ |
3. | เมืองเทิง | 9. | เมืองออย | 15. | เมืองท่าฟ้า |
4. | เมืองเชียงของ | 10. | เมืองงิม | 16. | เมืองเชียงม่วน |
5. | เมืองลอ | 11. | เมืองควร | 17. | เมืองสะเอียบ |
6. | เมืองมิน | 12. | เมืองปง | 18. | เมืองสวด |
พ.ศ. 2448 ด้วยหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำของมีบริเวณพื้นที่กว้างใหญ่ มีชายแดนเขตติดต่อกับอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่แยกกันขึ้นอยู่กับนครต่างๆ ซึ่งอยู่ห่างไกลกันมาก จึงจัดการให้มีการปกครองหัวเมืองในมณฑลพายัพในลุ่มแม่น้ำของเสียใหม่ โดยรวมหัวเมืองต่อไปนี้ ตั้งเป็นบริเวณพายัพเหนือ ได้แก่
1. | บริเวณ เชียงใหม่เหนือมี 5 เมือง คือเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองฝาง เมืองฝาง เมืองเวียงป่าเป้า และเมืองหนองขวาง เป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่ |
2. | บริเวณ น่านเหนือ ให้ตัดเมืองท่าฟ้า เมืองเชียงม่วน เมืองสะเอียบ เมืองสวด รวม 4 เมืองไปขึ้นกับแขวงนครน่าน คงเหลือเมืองในบริเวณน่านเหนือ 14 เมือง เป็นเมืองขึ้นของเมืองน่าน |
3. | บริเวณพะเยา ให้ตัดเมืองงาว ไปขึ้นตรงต่อนครลำปาง คงเหลือ 3 เมืองคือ เมืองพะเยา แขวงแม่ใจ และแขวงดอกคำใต้ เป็นเมืองขึ้นของนครลำปาง |
4. | เมืองพาน คงเป็นเมืองขึ้นของนครลำพูน |
และ ทำการแต่งตั้งให้มีข้าหลวง ประจำบริเวณอยู่ที่เมืองเชียงราย มีอำนาจจัดและตรวจตราหัวเมืองดังกล่าว ให้ขึ้นตรงกับข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ แต่ยังคงสภาพเหมืองเหล่านี้ ให้เป็นเมืองขึ้นของนครต่างๆ ตามเดิมเพื่อไม่ให้เกิดกการต่อต้านจากเจ้านายฝ่ายเหนือผู้ปกครอง
พ.ศ. 2449 เนื่องจากบริเวณน่านเหนือ ได้ถูกตัดไปรวมอยู่กับ บริเวณพายัพเหนือแล้ว กระทรวงมหาดไทย จึงได้ยกเลิกบริเวณน่านเหนือและตั้งเป็นเมืองเชียงคำ มีที่ว่าการอยู่ที่เมืองเชียงคำ ดูแลกิจการกิ่งแขวงเมืองปง และกิ่งแขวงเมืองเทิง ตัดเมืองเชียงของออกไป ให้ขึ้นตรงต่อบริเวณพายัพเหนือ
โดยมีราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 ตุลาคม ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) เล่ม 23 หน้า 751
ด้วย พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ มีใบบอกมายังกระทรางมหาดไทยให้นำความกราบบังคมทูลฯ พระกรุณาว่า “บริเวณน่านเหนือซึ่งได้ตัดไปรวมขึ้นอยู่ในบริเวณพายัพเหนือแล้วนั้น ควรจะเปลี่ยนวิธีการปกครองเสียใหม่ให้เหมาะกับพื้นที่และผู้คนพลเมืองต่อไป”
กระทรวงมหาดไทยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งดังนี้ คือ
1. | ยก เลิก กรมการบริเวณน่านเหนือเสียทั้งชุด และจัดตั้งกรมการแขวงขึ้นสำรับหนึ่งให้บังคับบัญชาการแขวงเชียงคำ ตั้งที่ว่าการแขวงอยู่ที่เมืองเชียงคำ เปลี่ยนนามบริเวณเป็นแขวงเชียงคำ |
2. | ตั้งกิ่งแขวงขึ้นที่เมืองปงแห่งหนึ่ง เมืองเทิงแห่งหนึ่ง ให้ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของแขวงเชียงคำ |
3. | ตัดเมืองเชียงของออกจากแขวงเชียงคำให้ไปขึ้นตรงต่อบริเวณพายัพเหนือ เพื่อให้สะดวกแก่การบังคับบัญชาต่อไป |
|
ศาลาว่าการมหาดไทย แจ้งความมา ณ. วันที่ 10 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก 125 |
|
|
( ลงพระนาม ) |
ดำรงราชานุภาพ |
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย |
พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ ตำแหน่งการปกครองท้องถิ่นที่จากภาษาพื้นเมืองไปเป็นภาษาไทยเหมือนกันทั่วประเทศ คือ ให้คำว่า แก่บ้าน เปลี่ยนไปใช้คำว่า ผู้ใหญ่บ้าน, แคว้นกลับไปเป็นตำบล, นายแคว้นกลับไปใช้คำว่ากำนัน, แขวงกลับไปใช้เป็นอำเภอ, นายแขวงก็ใช้คำว่านายอำเภอ และบริเวณให้ใช้คำว่า จังหวัด
ดังนั้น แขวงเชียงคำ จึงเปลี่ยนเป็น อำเภอเชียงคำ แต่ทางราชการก็ยังเรียกว่า เมืองเชียงคำ อยู่ในสังกัดของจังหวัดพายัพเหนือ
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 มิถุนายน 129 (พ.ศ. 2453) เล่มที่ 27 หน้า 427
แต่เดิมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองเวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สาย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ได้จัดรวมเข้าเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาเมืองเหล่านี้มีความเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้เห็นว่า การที่จัดให้เป็นแต่เพียงจังหวัดไม่พอแก่ราชการ และความเจริญ สมควรจะเลื่อนชั้นการปกครองขึ้นให้สมกับราชการแลความเจริญในท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ แลจัดแบ่งการปกครองเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย อำเภอเมืองเชียงคำ อำเภอเมืองเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองจัตวาชั้นในที่ขึ้นกรุงเทพมหานครทั้งปวง แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระภักดีณรงค์ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพเหนือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองเชียงราย รับราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป ฯ
|
ศาลาว่าการมหาดไทย |
ประกาศมา ณ. วันที่ 9 มิถุนายน รัตนโกสินทร์ ศก 129 |
|
|
( ลงพระนาม ) |
ดำรงราชานุภาพ |
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย |
พ.ศ. 2453 กระทรวง มหาดไทย มีประกาศยกจังหวัดพายัพเหนือ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า เมืองเชียงราย ประกอบด้วย 10 อำเภอ และอำเภอเชียงคำ อยู่ในเมืองเชียงราย
เมื่อปี พ.ศ. 2485 (ร.ศ.161) หลวงฤทธิ์ภิญโญ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคำ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคำจากฝั่งตะวันออกมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำลาว
อนปี พ.ศ.2514 บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเชียงคำฝั่งตะวันออก เป็นจวนนายอำเภอหรือบ้านพัก นายอำเภอ อาคารทีสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันได้รื้อถอนและสร้างอาคารหลังใหม่ทางฝั่งแม่น้ำลาวติดต้นขะจาวแนว ขว้างถนนอย่างที่เราเห็นอยู่ปัจจุบันนี้
เมื่อปี พ.ศ.2514 พันตรีชอบ มงคลรัตน์ นายอำเภอเชียงคำ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคำกลับมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำลาวอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น แบ่งเขตการปกครองจากจังหวัดเชียงราย โดยได้โอนอำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ รวม 7 อำเภอ จัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกา แบ่งพื้นที่อำเภอเชียงคำเป็น กิ่งอำเภอภูซาง ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลสบบง ตำบลภูซาง ตำบลเชียงแรง ตำบลทุ่งกล้วยและตำบลป่าสัก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2539
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะ กิ่งอำเภอภูซาง ขึ้นเป็น อำเภอภูซาง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2550
|